หลังจากช่วงเวลาที่ยืดเยื้อกับคำถามที่ว่า "เขาจะทำหรือไม่ทำ" โลกก็ได้สั่นคลอนในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อประธานาธิบดีทรัมป์ได้ทำตามสิ่งที่เคยพูดไว้ ด้วยการประกาศใช้มาตรการเก็บภาษี "แบบตอบโต้" กับหลายประเทศ ที่รัฐบาลสหรัฐมองว่า มีการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ อย่างไม่เป็นธรรม และได้ประโยชน์จากการค้าแบบทวิภาคี กับประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่างไม่สมดุล ประเทศที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด (ซึ่งก็คาดเดาได้) คือจีน โดยอัตราภาษีที่มีผลบังคับใช้กับสินค้าจีนพุ่งขึ้นเป็น 125% หลังจากที่สหรัฐฯ เรียกเก็บเพิ่มอีก 50% เพื่อตอบโต้ภาษีแบบตาต่อตาฟันต่อฟันของจีน ที่เรียกเก็บจากสินค้าสหรัฐฯ อยู่ที่ 84% และทางสหรัฐฯ ได้มีการเรียกเก็บเพิ่มอีก 21% ในวันที่ 9 เมษายน โดยทรัมป์ได้กล่าวว่า เป็นเพราะ "จีนไม่แสดงความเคารพต่อตลาดโลก" ส่วนประเทศอื่นในเอเชียที่ได้รับผลกระทบหนักได้แก่ กัมพูชา (49%) เวียดนาม (46%) และเมียนมา (44%) ในขณะที่อินเดียและสหภาพยุโรป ได้รับผลกระทบค่อนข้างน้อยกว่า อยู่ที่ 27% และ 20% ตามลำดับ ในปัจจุบัน จากพัฒนาการที่เกิดขึ้นแบบไม่เป็นไปตามแนวทางปกติตามสไตล์ของทรัมป์ อัตราภาษีเหล่านี้ได้ถูกลดลงชั่วคราวเหลือ 10% เป็นเวลา 90 วัน สำหรับทุกประเทศยกเว้นจีน เพื่อเปิดทางให้มีการเจรจา
ไม่น่าแปลกใจที่ตลาดหุ้นทั่วโลกได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง จากสงครามการค้าอย่างเต็มรูปแบบ โดยดัชนี S&P 500 และ Nasdaq 100 ได้ร่วงลงมากกว่า 10% นับตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน ซึ่งทรัมป์ได้ขนานนามว่า เป็น "วันปลดแอก" ที่น่าประหลาดใจก็คือ ดัชนี China A50 ร่วงลงเพียง 3% ในช่วงเวลาเดียวกัน ในขณะที่ดัชนี Hang Seng ดิ่งลงถึง 12.5% ในช่วงเวลานี้ แต่ไม่ใช่มีเพียงแค่ตราสารทุนเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ น้ำมันดิบ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของอุตสาหกรรมโลก ก็ร่วงลงกว่า 20% นับตั้งแต่สงครามการค้าได้เริ่มต้น โดยราคาน้ำมันดิบ Brent ลดลงไปแตะระดับต่ำสุดที่ $60.40 ต่อบาร์เรล ในเช้าวันที่ 8 เมษายน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2021 แต่คำถามคือ เหตุการณ์นี้จะเป็นเพียงบทนำของข้อตกลงทางการค้า ที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกในระยะยาว หรือความเจ็บปวดนี้จะยังคงดำเนินต่อไป จนถึงช่วงครึ่งหลังของปี?
หุ้นปรับตัวลง
ด้วยการเป็นตัวสะท้อนมุมมองเกี่ยวกับธุรกิจขนาดใหญ่ในอนาคต จึงไม่แปลกที่ตลาดหุ้นจะปรับตัวลงอย่างหนัก หลังสงครามการค้าเต็มรูปแบบ ระหว่างสหรัฐฯ และส่วนอื่น ๆ ของโลก ได้ปะทุขึ้น บริษัทอเมริกันต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าและวัตถุดิบจากต่างประเทศ และจะเป็นผู้ที่ต้องแบกรับต้นทุนมหาศาล ในการย้ายฐานการผลิต หรือใช้วัตถุดิบที่ผลิตในสหรัฐฯ เท่านั้น หุ้นที่เป็นผู้นำตลาดในช่วงตลาดกระทิงสามปีที่ผ่านมา หรือที่เรียกว่า Magnificent Seven ได้แก่ Apple (AAPL), Alphabet (GOOGL), Microsoft (MSFT), Amazon (AMZN), Meta (META), Tesla (TSLA) และ Nvidia (NVDA) ต่างกำลังได้รับผลกระทบอย่างหนัก บริษัทเทคยักษ์ใหญ่เหล่านี้ ที่การผลิตต้องพึ่งพาความสัมพันธ์ทางการค้ากับจีนเป็นอย่างมาก ได้สูญเสียมูลค่าตลาดรวมกันมากกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในวันแรกที่มีการประกาศมาตรการภาษี ในที่สุดการขาดทุนก็ถึงระดับเลขสองหลัก
เฟดอาจช่วยพยุงตลาดได้ด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้ และหากมีการเริ่มเจรจาระหว่างจีนและสหรัฐฯ อย่างเป็นรูปธรรม ก็อาจสร้างแรงพยุงได้เช่นกัน ทรัมป์ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 8 เมษายนว่า "จีนต้องการข้อตกลงเป็นอย่างมาก" พร้อมทั้งแสดงความเต็มใจที่จะเจรจาด้วย ตลาดหุ้นจีนกลับมีการฟื้นตัวในระดับที่น่าประหลาดใจ โดยเฉลี่ยมีการปรับตัวลดลงเพียงประมาณ 3% หลังจากฟื้นตัวจากขาลงก่อนหน้า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะรัฐบาลจีนให้คำมั่นว่า จะใช้เงินจากกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ Central Huijin Investment เข้าซื้อ ETF ในตลาดหุ้นจีนแผ่นดินใหญ่ ส่งผลให้ดัชนี CSI 300 (.CSI000300) ซึ่งเป็นดัชนีบลูชิปของจีน พุ่งขึ้น 1.7% และ 1.6% ตามลำดับ จากที่ปรากฏในข่าว การแทรกแซงจากทั้ง CCP และอาจรวมถึงเฟด อาจช่วยชะลอการปรับตัวลดลงเพิ่มเติมได้ ในระหว่างที่ทั้งสองฝ่ายเตรียมเปิดโต๊ะเจรจา
กระทบทั้งสองบาร์เรล
อีกหนึ่งสินทรัพย์ที่ปรับตัวลดลงหลัง "วันปลดแอก" คือ น้ำมันดิบ ซึ่งมักเคลื่อนไหวสอดคล้องกับระดับการผลิตและการค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากน้ำมันเป็นเชื้อเพลิงหลักในการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมในประเทศต่าง ๆ อย่างจีนและอินเดีย รวมถึงใช้ในการขนส่งสินค้าสำเร็จรูปไปยังตลาดทั่วโลก ราคาน้ำมันดิบเกือบทุกประเภท นับตั้งแต่ Brent ไปจนถึง WTI ต่างก็ร่วงลงราว 20% ในเช้าวันพุธที่ 9 เมษายน แต่หลังจากที่ทรัมป์ประกาศลดอัตราภาษีสำหรับทุกประเทศยกเว้นจีน ในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน ราคาฟิวเจอร์สน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ก็ดีดกลับขึ้นมากกว่า 4% ก่อนตลาดปิด ถือเป็นวันที่ดีที่สุดของน้ำมันดิบสหรัฐฯ นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2024 Brent ปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ $64.70 ต่อบาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบสหรัฐฯ พุ่งขึ้นเหนือระดับ $60 ไปแตะที่ $62.35 อย่างไรก็ตาม เทรดเดอร์ยังคงกังวลว่า ทิศทางของโลกอาจเข้าสู่ สงครามการค้าเต็มรูปแบบ ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย และส่งผลกระทบต่ออุปสงค์น้ำมันอีกครั้ง
ในขณะเดียวกัน กลุ่ม OPEC+ ได้ตกลงที่จะเร่งการผลิตในเดือนพฤษภาคม ซึ่งจะทำให้มีปริมาณน้ำมันเพิ่มเข้าสู่ตลาดที่มีอุปทานล้นอยู่แล้ว Helima Croft หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์สินค้าโภคภัณฑ์ระดับโกลบอล จาก RBC Capital Markets ได้กล่าวถึงการผสมผสานระหว่าง ความกังวลเรื่องภาวะถดถอย และอุปทานน้ำมันที่เพิ่มขึ้นว่า เป็น “ค็อกเทลพิษ” ซึ่งอาจจะไม่ใช่คำพูดเกินจริง สถานการณ์ยิ่งซับซ้อนขึ้นอีก เมื่อกำลังจะมีการเจรจานิวเคลียร์ระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่านในโอมาน ในช่วงสุดสัปดาห์นี้ ซึ่งหากประสบความสำเร็จ ก็อาจทำให้น้ำมันอิหร่านกลับเข้าสู่ตลาดโลก อย่างไรก็ตาม ยังมีข่าวดีจากฤดูการเดินทางช่วงฤดูร้อนที่กำลังจะมาถึง ซึ่งมักช่วยกระตุ้นอุปสงค์น้ำมันให้สูงขึ้น ในปีนี้ ผลกระทบคาดว่าจะยิ่งชัดเจนขึ้น เนื่องจากผู้คนจำนวนมากเลือกการเดินทางในประเทศและท่องเที่ยวด้วยรถยนต์ แทนที่จะขึ้นเครื่องบิน ท่ามกลางภาวะค่าครองชีพสูง และการรัดเข็มขัด เพื่อเตรียมรับภาวะเศรษฐกิจถอดถอยที่อาจเกิดขึ้น เมื่อแนวโน้มการเจรจากลับมาเป็นไปได้มากขึ้น เหตุการณ์ทั้งหมดอาจเป็นเพียงอีกหนึ่งกลยุทธ์ "ศิลปะแห่งการเจรจา" ของดอนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งอาจให้ผลตอบแทนอย่างงดงามแก่สหรัฐฯ และเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ สำหรับการเติบโตในครึ่งหลังของปี 2025 และในอนาคต
เทรดหุ้นโลกและ CFD ตัวอื่นๆ ด้วย Libertex
Libertex มี CFD ที่หลากหลาย ครอบคลุมสินทรัพย์ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น ETF และดัชนีของสหรัฐฯ เช่น Nasdaq 100, S&P 500, และ Dow Jones Industrial Average รวมถึงดัชนีที่เน้นตลาดจีนอย่าง China A50 Index (XU) และ Hang Seng Index (HIS) หากต้องการดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Libertex หรือสร้างบัญชีเป็นของคุณเอง ให้ไปที่ www.libertex.org/signup