สัญญาซื้อขายส่วนต่าง หรือ Contract for Difference (CFD) คืออะไร?
CFD ย่อมาจาก Contract for Difference หมายถึงสัญญาซื้อขายส่วนต่าง และการเทรด CFD คือรูปแบบการเก็งกำไรอย่างหนึ่งในตลาดการเงินที่คุณไม่จำเป็นต้องซื้อหรือขายสินค้าอ้างอิง
CFD เกิดขึ้นเมื่อช่วงต้นปี 1990 ที่ลอนดอนในรูปของมาร์จิ้นการเทรดหุ้น การคิดค้น CFD เป็นผลงานของ Brian Keelan และ Jon Wood ทั้งสองคนมาจาก UBS Warburg ซึ่งได้พัฒนาสัญญาเหล่านี้ขณะทำการเทรดที่ Trafalgar House ในช่วงต้นปี 90
ก่อนที่ CFD จะได้รับเปิดตัว เทรดตราสารในตลาดแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศสามารถทำได้เฉพาะผู้ที่มีเงินทุนจำนวนมากเท่านั้น เนื่องจากต้นทุนของการเทรดในตลาดแลกเปลี่ยนดังกล่าวนั้นสูงถึง 100,000 ดอลลาร์ CFD ได้เปิดช่องทางเข้าสู่การเทรดตราสารของตลาดให้กับคนจำนวนมากที่มีเงินทุนแตกต่างกัน
ช่วงแรก CFD จะอยู่ในส่วนต่างระหว่างราคาหุ้นเท่านั้น แต่ปัจจุบันสัญญาดังกล่าวสามารถใช้ได้กับตราสารของตลาดทั้งหมด
ทุกวันนี้คุณสามารถทำธุรกรรม CFD ในตลาดต่างๆ เช่น ดัชนี, หุ้น, สกุลเงิน, เงินดิจิตอล และพันธบัตร ซึ่งเทรดได้โดยไม่ต้องซื้อหรือขายหุ้นหรือสกุลเงินจริงๆ แต่คุณกำลังเทรด CFD ซึ่งเป็นตราสารอนุพันธ์ที่มีข้อได้เปรียบหลายอย่างเมื่อเทียบกับการเทรดแบบดั้งเดิม
ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการเทรด CFD: วิธีการทำงาน
สมมติว่าคุณต้องการซื้อหุ้นของบริษัท 1,000 หุ้น คุณสามารถซื้อผ่านโบรกเกอร์ในตลาดแลกเปลี่ยนโดยชำระยอดทั้งหมด (1,000 x ราคาตลาดปัจจุบันต่อหุ้น) พร้อมด้วยค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์ อีกทางหนึ่ง คุณสามารถซื้อ CFD สำหรับ 1,000 หุ้น ผ่านผู้ให้บริการ CFD ณ ราคาตลาดปัจจุบันเช่นเดียวกัน
วิธีนี้ทำให้คุณเกิดความเสี่ยงเหมือนกัน แต่การเปิดตำแหน่งดังกล่าวคุณจะต้องฝากมาร์จิ้นเพื่อให้ครอบคลุมผลลัพธ์ที่อาจไม่ประสบความสำเร็จ รวมถึงค่าธรรมเนียมเล็กน้อย ส่วนการขายหุ้นกับโบรกเกอร์ CFD ทำได้ง่ายเช่นเดียวกัน เพียงแค่กำหนดระยะเวลาของสัญญาเป็นระยะสั้นแทนระยะยาวที่ราคา Bid นี่ืคือเหตุผลที่ CFD ใช้โดยลูกค้าที่ต้องการป้องกันความเสี่ยงจากพอร์ตการลงทุนที่มีอยู่
มาร์จิ้นและเลเวอเรจคืออะไร?
CFD คือผลิตภัณฑ์เลเวอเรจ หมายความว่าคุณจำเป็นต้องฝากเงินเพียงเล็กน้อยของมูลค่าทั้งหมดเพื่อเปิดตำแหน่ง สิ่งนี้เรียกว่าข้อกำหนดมาร์จิ้น การเทรดบนมาร์จิ้นทำให้คุณเพิ่มความสามารถในการทำกำไร แต่ความสูญเสียก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับค่า CFD ทั้งหมด
หรือกล่าวได้ว่า คุณสามารถฝากเงินจำนวนเล็กน้อยเพื่อจัดการตำแหน่งที่มีขนาดใหญ่กว่ามาก และทวีคูณกำไรที่เป็นไปได้ แต่ความสูญเสียของคุณจะทวีคูณเช่นกัน ดังนั้นคุณต้องจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม
พอร์ท CFD ในตำแหน่ง Short และ Long
การซื้อ CFD ในตำแหน่ง Long หรือ Short หมายถึงการเดิมพันราคาสินทรัพย์ว่าจะขึ้นหรือลง ความแตกต่างระหว่าง CFD ในตำแหน่ง Long หรือ Short คือความเป็นไปได้ที่จะเกิดการสูญเสียหรือทำกำไรจากการเทรด
การลงทุนตำแหน่ง Long หมายถึงการซื้อหลักทรัพย์และคาดว่าราคาจะเพิ่มขึ้น (ขึ้น) สิ่งนี้เรียกว่า Long เพราะใช้เวลานานกว่าราคาตลาดจะสูงขึ้นและลดลงมา ดังนั้น ความหมายของ Long ก็คือการซื้อ
การลงทุนตำแหน่ง Short หมายถึงการซื้อหลักทรัพย์และคาดว่าราคาจะลดลง (ลง) ตามหลักการราคามักตกลงเร็วกว่าที่ขึ้น โดยทั่วไปการเลือก Long หมายถึงการขาย
ต้นทุนในการเทรด CFD มีอะไรบ้าง?
- สเปรด: เมื่อคุณเทรด CFD คุณต้องจ่ายสเปรด ซึ่งเป็นส่วนต่างระหว่างราคา Ask และ Bid เมื่อคุณเปิดตำแหน่ง คุณจะจ่ายราคา Ask และเมื่อคุณออกจากตลาด คุณจะจ่าย Bid ส่วนต่างระหว่าง 2 ค่ายิ่งน้อย ความเคลื่อนไหวของราคาที่คุณต้องการจะยิ่งน้อย และการเทรดของคุณจะมีสถานะเป็น In the Money (ทำกำไรได้) การเทรดที่ Libertex นำเสนอสเปรดที่แข่งขันได้
- สวอป: เมื่อสิ้นสุดวันเทรดแต่ละวัน ตำแหน่งใดๆ ที่ส่งต่อข้ามคืนถือว่าเป็นสวอป ซึ่งสามารถเป็นบวกหรือลบขึ้นอยู่กับทิศทางการเทรดของคุณและอัตราดอกเบี้ยตามลำดับ
- ค่าคอมมิชชั่น: เมื่อคุณเทรด CFD คุณอาจต้องชำระค่าธรรมเนียมหรือค่าคอมมิชชั่นต่างหาก
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อกำหนดและเงื่อนไขของ Libertex Trading โปรดคลิกที่นี่
ความเสี่ยงและผลตอบแทน
CFD นำเสนอทางเลือกแทนการลงทุนแบบเดิม ทำให้ได้รับความนิยมจากนักเทรดจำนวนมาก นักลงทุนมือใหม่สามารถเทรด CFD ให้ประสบความสำเร็จได้ แต่ควรค้นคว้าหัวข้อนี้ก่อนเป็นอันดับแรก และหาความรู้อย่างละเอียดเกี่ยวกับความเสี่ยง รวมทั้งผลตอบแทนที่เกี่ยวข้องก่อนทำการลงทุน ความรู้ที่เหมาะสมจะทำให้นักเทรดสามารถใช้ข้อดีที่ CFD นำเสนอได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด และลดผลกระทบจากข้อเสีย
ข้อดีของ CFD
ด้านล่างเป็นข้อดีของการเทรด CFD ที่เรารวบรวมมาเพื่อความสะดวกของคุณ นักลงทุนที่กำลังใช้กลยุทธ์การเทรดแบบผสมสามารถนำปัจจัยเหล่านี้บางส่วนหรือทั้งหมดไปใช้ รายการด้านล่างเป็นเหตุผลที่นักเทรดหลายประเภทใช้ CFD เป็นวิธีเก็งกำไรในตลาดการเงิน
- ทำกำไรทั้งในตลาดขาขึ้นและขาลง:
ข้อดีที่เห็นได้ชัดของการเทรด CFD คือ นักเทรดจะไม่ถูกจำกัดด้วยวิธีการทำกำไรเพียงวิธีเดียว เช่น การเปิดตำแหน่งในตลาด Bullish (ขาขึ้น) ความสามารถในการเทรดทั้งตลาดขาขึ้นและขาลงจะเพิ่มความยืดหยุ่นที่ดีต่อกลยุทธ์การเทรดของคุณและทำให้คุณสามารถคาดการณ์ราคาสินค้าอ้างอิงที่อาจเปลี่ยนแปลงขึ้นหรือลงได้ - การป้องกันความเสี่ยงของตำแหน่ง:
หนึ่งในวิธีจัดการความเสี่ยงที่ใช้โดยนักลงทุนเพื่อประกันความเสี่ยง (Hedging) ยกตัวอย่างเช่น หากคุณมีตำแหน่ง Long ในตลาดหุ้นที่กำลังขาดทุนสะสม คุณสามารถเปิดตำแหน่งในทิศทางตรงกันข้ามด้วย Short CFD สิ่งนี้อาจดูซ้ำซ้อนสำหรับบางคน แต่จะช่วยให้คุณปรับสมดุลของการขาดทุน หากตำแหน่งหุ้นยังคงตกลง การเทรด CFD จะทำเงินให้คุณบางส่วน ดังนั้นการป้องกันความเสี่ยงจะทำให้คุณสามารถจำกัดความเสี่ยงและหลีกเลี่ยงการขาดทุนในอนาคตของคุณได้ - ขนาดสัญญาที่ยืดหยุ่น:
นักเทรด CFD สามารถเลือกขนาดของตำแหน่งได้หลากหลายเพื่อให้เข้ากับสไตล์การเทรดตามประเภทบัญชี โดยทั่วไป นักเทรดมือใหม่มักได้รับการแนะนำให้ใช้ล็อตขนาดเล็ก เพื่อพัฒนากลยุทธ์การเทรดที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งจะทำให้ได้กำไรระยะยาว นักลงทุนที่มีประสบการณ์มากกว่าอาจเลือกเสี่ยงมากขึ้น เพื่อตัวเลือกการเทรดไม่จำกัด - การเทรดบนมาร์จิ้น:
CFD นำเสนอการเทรดบนมาร์จิ้น หมายความว่า นักเทรดเพียงแค่ต้องฝากเงินส่วนหนึ่งของมูลค่าตำแหน่งทั้งหมด สมมติว่าคุณมีตำแหน่ง CFD Short หรือ Long จำนวน 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในกรณีที่ข้อกำหนดมาร์จิ้นของโบรกเกอร์คือ 4% คุณจะต้องฝากเงินเพียง 40 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเปิดตำแหน่งดังกล่าว หากการเทรดประสบความสำเร็จ คุณจะได้รับกำไรจากขนาดของตำแหน่งทั้งหมดของตำแหน่ง ไม่ใช่แค่ 4%
ความเสี่ยงของการเทรด CFD
การเทรด CFD มีความเสี่ยงเช่นเดียวกับรูปแบบการลงทุนอื่นๆ แต่คุณสามารถลดความเสี่ยงได้โดยการศึกษารูปแบบการลงทุน และทำตามแผนการเทรดของคุณ แต่คุณควรจำไว้ว่าไม่มีทางที่จะกำจัดความเสี่ยงได้อย่างสิ้นเชิง วิธีที่ดีที่สุดคือการลดผลกระทบด้านลบที่เป็นไปได้ ซึ่งคุณจำเป็นต้องนึกถึงสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้
การเทรดด้วยเลเวอเรจที่มากเกินไป
โดยส่วนใหญ่แล้วข้อผิดพลาดที่มักเกิดขึ้นกับมือใหม่คือการตัดสินใจที่จะเสี่ยงกับการเทรดเดียวมากเกินไป “เลเวอเรจที่มากเกินไป” เกิดขึ้นทุกครั้งที่มือใหม่คิดว่า CFD คือวิธีที่ทำให้รวยได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นเมื่อนักเทรดมือใหม่มีโอกาสวางตำแหน่งด้วยเลเวอเรจที่อาจทำกำไรเพิ่มขึ้น นักเทรดเหล่านั้นส่วนมากจะพบกับการขาดทุนมหาศาล ซึ่งสุดท้ายอาจทำให้หมดตัว
สิ่งนี้ไม่ควรเกิดขึ้น เพราะข้อผิดพลาดข้างต้นสามารถหลีกเลี่ยงได้อย่างง่ายดาย ทั้งหมดที่คุณต้องใช้คือกลยุทธ์การจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม ซึ่งรวมถึงการกำหนด Stop Loss ในคำสั่งเพื่อจำกัดปริมาณการสูญเสีย และเสี่ยงด้วยเงินจำนวนเล็กน้อยจากยอดคงเหลือที่มีอยู่ในบัญชีเท่านั้น การเทรดทุกครั้งควรตัดสินใจด้วยเหตุผลเพื่อให้ประสบความสำเร็จในระยะยาวแทนที่จะพยายามทำ “โฮมรัน” ทุกครั้งที่มีโอกาส
ไม่มีสิทธิ์โหวต
นักเทรด CFD ที่มีประสบการณ์จำนวนมากอ้างว่าความเสี่ยงอย่างหนึ่งของการเทรด CFD คือไม่มีสิทธิ์โหวตระหว่างการประชุมบอร์ดประจำปีของบริษัท ซึ่งสามารถทำได้สำหรับนักเทรดหุ้นปกติ สิ่งนี้สำคัญเพราะหลังจากที่เปิดตำแหน่งแล้ว นักเทรดไม่สามารถกำหนดนโยบายในอนาคตของบริษัท และไม่สามารถมีอิทธิพลต่อทิศทางของราคา
เมื่อไม่มีอิทธิพลต่อกลยุทธ์ของบริษัท นักเทรด CFD ต้องยอมรับว่าหากตำแหน่งเปิด ตลาดกำหนดราคา และนักเทรดจะทำได้เพียงแค่ต้องยอมรับผลลัพธ์เท่านั้น สิ่งนี้เน้นให้เห็นความสำคัญของการคาดการณ์ราคาและแผนการเทรด ซึ่งเป็นส่วนที่คุณต้องใส่ใจอย่างละเอียด
สรุป
การเทรด CFD เหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการใช้ประโยชน์จากเงินที่มีอยู่ให้มากที่สุด
แต่การเทรด CFD มีความเสี่ยงสูงและไม่เหมาะสำหรับนักลงทุนทุกคน เราแนะนำให้คุณเทรดบนบัญชีทดลองก่อนที่จะนำเงินไปเสี่ยง
การเทรด CFD อาจเหมาะสำหรับ:
- ผู้ที่กำลังมองหาโอกาสระยะสั้น
การเทรด CFD มักถือไว้เพียงไม่กี่วันหรือสัปดาห์ ซึ่งไม่ใช่การเทรดระยะยาว - ผู้ที่ต้องการตัดสินใจลงทุนด้วยตนเอง
Libertex เพียงแค่ทำหน้าที่ดำเนินการกับคำสั่งซื้อขายเท่านั้น เราไม่แนะนำให้ซื้อตำแหน่งและจะไม่เทรดในนามของคุณ - ผู้ที่มองหาการกระจายความเสี่ยงในพอร์ทการลงทุน
Libertex นำเสนอการเทรดในตลาดระดับโลกมากกว่า 5,000 แห่ง ซึ่งรวมถึงตลาดหุ้น สินค้าโภคภัณฑ์ สกุลเงิน และดัชนี - นักเทรดทั้งแบบ Active หรือ Passive
คุณมีอิสระในการเทรดมากหรือน้อยตามความต้องการของคุณ
บริการ CFD ของเราครอบคลุมประเภทสินทรัพย์จำนวนมาก สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดอ้างอิงหัวข้อต้นทุนในการเทรด CFD CFD คือเครื่องมือการลงทุนที่ยืดหยุ่น เพราะสัญญาไม่มีวันหมดอายุ และสามารถกำหนดได้ว่าคุณต้องการชำระตำแหน่งของคุณเมื่อไรเพื่อรับกำไรหรือขาดทุน
เราหวังว่าบทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณ เราขอเชิญชวนให้คุณเปิดบัญชีทดลอง เพื่อลองเทรด CFD โดยไม่มีความเสี่ยง!
หากคุณมีข้อสงสัย โปรดส่งคำถามหรือแนวคิดของคุณในส่วนความคิดเห็น
เราขอเชิญชวนให้คุณเปิดบัญชีทดลอง เพื่อลองเทรด CFD โดยไม่มีความเสี่ยง!